Welcome to a character in literature.

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

ตัวนางในวรรณคดี - นางศกุนตลา

นางศกุนตลา



ศกุนตลา เรื่องราวของนางในวรรณคดีนี้เริ่มจาก พระวิศวามิตรเกิดนึกอยากมีฤทธิ์มากๆจึงสละราชสมบัติ ออกบำเพ็ญตบะในป่าจนแก่กล้ายิ่ง ทำให้เหล่าเทวดาพากันเดือดร้อนไปทั่ว พระอินทร์คิดแก้ไข โดย
ให้นางฟ้าเมนกาลงมาใช้ความงามยั่วยวน เพื่อทำให้พระฤาษีตนนี้ไม่มีกะจิตกะใจจะบำเพ็ญเพียร ทั้งสองจึงครองคู่กัน จนกระทั่งมีธิดามาคนหนึ่ง พอดีกับตอนนั้นพระวิศวามิตรที่ผ่านพ้นระยะข้าวใหม่ปลามัน
เกิดได้คิด จึงบอกนางเมนกากลับสวรรค์ ส่วนพระองค์ก็ออกไปจักรวาล ทิ้งพระธิดาน้อยๆอยู่ในป่าแต่เพียงลำพัง ดีที่ได้พวกนกคอยเลี้ยงดู เมื่อพระกัณวดาบสมาพบเข้า จึงให้นางนามว่า ศกุนตลา ซึ่งแปลว่า
นางนกและนำกลับไปเลี้ยงดูอย่างธิดาที่อาศรมของตน ต่อมานางเติบโตเป็นสาวแรกรุ่นที่งดงามอย่างหาที่ติไม่ได้ ดังคำบรรยายที่ว่า... ดูผิวสินวลละอองอ่อน มะลิซ้อนดูดำไปหมดสิ้น สองเนตรงามกว่ามฤคิน นางนี้เป็นปิ่นโลกา งามโอษฐ์ดังใบไม้อ่อน งามกรดังลายเลขา งามรูปเลอสรรขวัญฟ้า งามยิ่งบุปผาเบ่งบาน
แล้ววิถีชีวิตของนางได้มาถึงช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ เมื่อได้พบกับท้าวทุษยันต์ กษัตริย์จันทรวงศ์ แห่งนครหัสดิน ซึ่งเสด็จประพาสป่าเพื่อล่าสัตว์ แล้วบังเอิญตามกวางมาถึงบริเวณใกล้เคียง จึงแวะมายัง
อาศรม หมายพระทัยจะมานมัสการพระกัณวดาบส แต่ในตอนนั้นพระกัณเวดาบสไม่อยู่ เนื่องจากเดินทางไปบูชาพระเป็นเจ้าที่เทวสถานโสมเตียรถ์ เพื่อสะเดาะเคราะห์ให้แก่นาง พวกปีศาจมารร้ายได้ถือ
โอกาสเข้ามาอาละวาดที่อาศรม รังควาญการบำเพ็ญเพียรของเหล่าพราหมณ์ผู้ศิษย์ พระกัณเวดาบส ท้าวทุษยันต์เสด็จมาปราบปีศาจได้สำเร็จเมื่อท้าวทุษยันต์มีโอกาสอยู่ตามลำพัง ทั้งสองได้เป็นของกันและกัน
หลังจากทุกอย่างเป็นไปตามจุดมุ่งหมายแล้ว ท้าวทุษยันต์ได้มอบแหวนวงหนึ่งแก่นางแล้วรีบเดินทางกลับบ้านเมือง เช้าวันหนึ่งพระฤาษีทุรวาสผู้มีปากร้าย ได้มาเรียกนางที่หน้าประตู แต่นางไม่รู้ตัวด้วยกำลัง
ป่วยเป็นไข้ใจ จึงไม่ได้ออกไปต้อนรับ ทำให้พระฤาษีทุรวาสโกรธสาปให้นางถูกคนรักจำไม่ได้ ต่อมาพระฤาษีทุรวาสหายโมโหแล้ว เพราะรู้ว่านางไม่ได้จนใจแสดงอาการไม่เคารพกับตนจึงให้พรกำกับแก่
นางว่า หากคนรักของนางได้เห็นของที่ให้ไว้เป็นที่ระลึกก็จะจำนางได้ พระกัณดาบสได้ทราบเรื่องราวต่างๆของนางกับ ท้าวทุษยันต์ จึงส่งนางไปให้ท้าวทุษยันต์จัดพิธีอภิเษก ในระหว่างทางที่ปนางได้ทำ
แหวนที่ท้าวทุษยันต์ประทานให้ตกหายไปในแม่น้ำ เมื่อไปถึงที่หมายท้าวทุษยันต์ทรงจำนางไม่ได้ จนกระทั่งกุมภิลชาวประมงจับได้ปลาที่กลืนแหวนซึ่งนางศกุนตลาทำหาย พอเห็นแหวนท้าวทุษยันต์ก็ได้
สติจำเรื่องราวต่างๆได้ จนกระทั่งท้าวทุษยันต์ได้พบกับนางศกุนตลาอีกครั้ง หลังจากพลัดพรากจากกันไปเนิ่นนานด้วยความช่วยเหลือของพระเทพบิดรและพระเทพมารดร ดังนั้น ท้าวทุษยันต์ทรงรับมเหสี
และโอรสกลับสู่นครหัสดินด้วยความปิติยินดี(ตอนที่นางไปหาท้าวทุษยันต์นางทรงครรภ์แก่ นางได้กำเนิดพระโอรสทรงพระนามว่าพระภรต เกิดตอนอาศัยอยู่กับพระกศบและนางอทิติเหตุที่เป็นเช่นนี้เพรา
ะขณะที่นางจะไปสู่ที่พักโสมราตปุโรหิตของท้าวไตรตรึง ได้ลอบอธิษฐานว่าหากสิ่งที่นางศกุนตลาพูดเป็นความจริง ขอให้เกิดปาฏิหาริย์ประจักษ์ต่อหน้า พออธิษฐานจบ นางศกุนตลาได้หายลับไปต่อหน้า
ซึ่งนางได้มาอยู่กับพระกศบและนางอทิตินั่นเอง)

ตัวนางในวรรณคดี - นางมโนราห์

นางมโนราห์



  นางมโนราห์เป็นธิดาองค์เล็กของท้างทุมราชผู้เป็นพระยากินนร  นางมีพระพี่นางอีกหกองค์ล้วนมีหน้าตาเหมือน ๆ  กัน  งดงามยิ่งกว่านางมนุษย์  รูปร่างหน้าตาของพวกเขาเหมือนมนุษย์แต่มีปีกและหางที่ถอดออกได้  เมื่อใส่ปีกใส่หางแล้วกินนรก็สามารถบินไปยังที่ต่าง ๆ ได้ นางมโนราห์และพี่น้องทั้งหกได้ไปเล่นน้ำที่สระน้ำอโนดาต เจอพรานบุญที่ต้องการจับตัวนางกินรีเพราะเห็นว่านางงดงามคู่ควรแก่พระสุธน โอรสแห่งเมือง ปัญจาลนคร  พรานบุญจึงไปยืมบ่วงนาคบาศจากท้าวชมพูจิต พญานาคราช ซึ่งได้ให้ยืมบ่วงนาคบาช เพราะพรานบุญเคยช่วยชีวิตเอาไว้และเห็นว่าพระสุธนกับนางมโนราห์เป็นเนื้อคู่กัน พรานบุญได้จับนางมโนราห์ไปถวายแค่พระสุธน พระสุธนเห็นเข้าก็เกิดหลงรักนางและพานางกลับเมือง และได้อภิเษกกัน ต่อมาปุโรหิตคนหนึ่งได้เกิดจิตอาฆาตแค้นแก่พระสุธนเพราะว่าพระสุธนไม่ให้ตำแหน่งแก่บุตรของตน เมื่อถึงคราวเกิดสงคราม พระสุธนออกไปรบ พระบิดาได้ทรงพระสุบิน ปุโรหิตได้ทำนายว่าจะเกิดภับพิบัติครั้งใหญ่  ให้นำนางมโนราห์ไปบูชายัญ ซึ่งท้าวอาทิตยวงศ์ได้ยินยอมตามนั้น นางมโนราห์รู้เข้าก็เกิดตกใจ จึงออกอุบาย ของปีกกับหางขอนางคืน เพื่อร่ายรำหน้ากองไฟก่อนจะตาย เมื่อนางได้ปีกกับหางแล้ว นางก็ร่ายรำได้สักพักก็บินหนีไป ไปเจอฤาษีก็ได้กล่าวกับฤาษีว่า หากพระสุธนตามมาให้บอกว่าไม่ต้องตามนางไป เพราะมีภยันอันตรายมากมาย และได้ฝากภูษาและธำมรงค์ให้พระสุธน เมื่อนางมโนราห์ได้กลับไปที่เมืองก็จะได้มีพิธีชำระล้างกลิ่นอายมนุษย์ ฝ่ายพระสุธนที่กลับจากสงครามได้ลงโทษปุโรหิต และติดตามหานางมโนราห์ เมื่อเจอพระฤาษี พระสุธนจะติดตามนางมโนราห์ต่อไป โดยมีพระฤาษีค่อยช่วยเหลือ เปนเพราะเวรกรรมแต่ชาติที่แล้วนั่นคือ นางมโนราห์คือ พระนางเมรี และพระสุธนคือ พระรถเสน ทำให้พระสุธนได้รับความลำบากมาก เมื่อพระสุธนมาถึงสระน้ำอโนดาต ได้แอบเอาพระธำมรงค์ใส่ลงในคณโฑของนางกินรีนางหนึ่ง ซึ่งนางกินรีได้นำน้ำนั้นไปสรงให้นางมโนราห์ พระธำมรงค์ได้ตกลงมาที่แหวนของนางพอดี ทำให้นางรู้ว่าพระสุธนมาหานาง นางจึงได้แจ้งแก่พระมารดา ซึ่งพระบิดาต้องการทราบว่าพระสุธนมีความรักจิงต่อนางมโนราห์หรือไม่ ได้รับพระสุธนมาที่เมืองและให้พระสุธนบอกว่านางไหนคือนางมโนราห์ ซึ่งนางมโนราห์และพี่ๆๆมีหน้าตาละม้ายคล้ายคลึงกัน ร้อนถึงองค์อินทร์ ต้องแปลงกายมาเป็นแมลงวันทอง จับที่ผมของนางมโนราห์ ทำให้นางมโนราห์และพระสุธนได้เคียงคู่อย่างมีความสุข

ตัวนางในวรรณคดี - นางสีดา

นางสีดา



   นางสีดา เป็นนางในวรรณคดีจากเรื่อง " รามเกียรติ์ " ในเรื่องรามเกียรติ์นั้นนางสีดานับว่าเป็นบุคคลสำคัญ ที่เป็นจุดเริ่มของเหตุการณ์ที่โยงไปสู่การรบกันระหว่างพระรามกับทศกัณฑ์ประวัติ  ลักษณะนิสัยนางสีดาเป็นผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อสามีอย่างเป็นเลิศ เช่น ในตอนที่พระรามต้องออกดินป่า นางก็ขอตามเสด็จไปด้วยโดยไปเกรงกลัวต่อความยากลำบากที่จะต้องพบ นางสีดานั้นรักนวลสงวนตัว รักในเกียรติของตนเอง เช่น ในตอนที่หนุมานอาสาจะพานางกลับไปหาพระรามโดยให้นั่งบนมือของหนุมาน นางก็ปฏิเสธทั้งที่มีโอกาสหนี แต่ด้วยเหตุที่ไม่อยากให้ใครมาถูกเนื้อต้องตัวจึงยอมทนทุกข์อยู่เมืองลงกาต่อ มีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว เช่น ตอนที่นางสีดายอมลุยไฟเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ของตน นางสีดามีความรู้คุณ กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เช่น ในตอนที่นางสีดากล่าวขอบคุณพระลักษมณ์ที่ช่วยเหลือนางมาตลอด เมื่อรู้ว่าตนทำผิดก็รู้จักขอโทษ เช่น ในตอนที่รู้ว่าตนทำผิดที่ไม่เชื่อคำของพระรามว่าเป็นกลลวงของยักษาที่แปลงกายเป็นกวางเพื่อหลอกล่อนาง แต่นางก็ไม่ฟัง จึงได้กล่าวขอพระราชทานอภัยโทษจากพระรามที่ได้กระทำผิดไป นางเป็นคนใจแข็ง ไม่ยอมเชื่อใครโดยง่าย ทั้งยังรักศักดิ์ศรีของตน เช่น ในตอนที่พระรามตามง้อขอคืนดี นางก็ปฏิเสธไปเพราะยังมีทิฐิ                 
    นางสีดาเป็นสตรีที่มีความงามยิ่งกว่านางฟ้าในสวรรค์ ผู้ใดพบเห็นก็ต่างพากันตะลึงในความงดงามของนาง เช่น เมื่อพระรามเดินทางมาเมืองมิถิลาเพื่อร่วมพิธียกศร ซึ่งท้าวชนกโปรดให้จัดขึ้นเพื่อหาคู่ให้นางสีดา ครั้นพระรามให้เห็นนางสีดาก็เกิดความรักขึ้นทันที จนลืมองค์ชั่วขณะหรือแม้แต้ท้าวมาลีวราช เมื่อได้เห็นนางสีดาก็ยังชื่นชมในความงามของนาง             
       นางสีดาคือพระลักษมีจุติลงมาตามบัญชาของพระอิศวรเพื่ออัญเชิญพระนารายณ์อวตาร นางสีดาเกิดจากนางมณโฑและทศกัณฐ์ พิเภกได้ทำนายดวงชะตานางสีดาว่าจะเกิดมาทำลายเผ่ายักษ์ นางจึงถูกทิ้งให้ลอยน้ำมาในผอบทอง ต่อมาพระฤาษีชนกก็รับเลี้ยงนางสีดาเป็นธิดา และตั้งชื่อนางว่าสีดา ต่อมานางก็ได้อภิเษกกับพระราม และเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นเมื่อนางถูกทศกัณฐ์จับตัวไปเพื่อให้เป็นมเหสีเนื่องจากความงามเป็นเลิศของนาง จึงเกิดการรบกันระหว่างฝ่ายพระรามและทศกัณฐ์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเรื่องรามเกียรติ์ขึ้น

ตัวนางในวรรณคดี - พระเพื่อนพระแพง

พระเพื่อนพระแพง


     ตำนานรักพระลอ ความว่า เดิมเจ้าราชวงศ์แมนสรวงกับเจ้าราชวงศ์สรองเป็นปรปักษ์ต่อกัน แต่โอรสและธิดาของ 2 เมืองนี้เกิดรักกันและยอมตายด้วยกัน ฝ่ายชายคือพระลอเป็นกษัตริย์แห่งเมืองแมนสรวง มีพระชายาชื่อนางลักษณวดี พระลอเป็นหนุ่ม รูปงามมากเป็นที่เลื่องลือไปทั่วจนทำให้พระเพื่อนพระแพงเกิดความรักและปรารถนาที่จะได้พระลอมาเป็นสวามี พี่เลี้ยงของพระเพื่อนพระแพง ชื่อนางรื่นนางโรย ได้ออกอุบายส่งคนไปขับซอยอโฉมพระเพื่อนพระแพงให้พระลอฟัง และให้ปู่เจ้าสมิงพรายทำเสน่ห์ให้พระลอเกิดความรักหลงไหลคิดเสด็จไปหานาง
         ฝ่ายพระนางบุญเหลือชนนีของพระลอทราบ จึงหาหมอแก้เสน่ห์ได้ แต่ปู่เจ้า สมิงพรายได้เสกสลาเหิน(หมากเหิน) มาให้พระลอเสวยในตอนหลังอีก ถึงกับหลงไหลธิดาทั้งสองมากขึ้น จึงทูลลาชนนีและพระนางลักษณวดีไปยังเมืองสรอง พร้อมกับนายแก้วนายขวัญพี่เลี้ยง เมื่อมาถึงแม่น้ำกาหลงได้เสี่ยงทายกับแม่น้ำ แม่น้ำกลับวนและเป็นสีเลือด ซึ่งทายว่าไม่ดี แต่พระลอก็ยังติดตามไก่ที่ปู่เจ้าสมิงพรายเสกมนต์ล่อพระลอให้หลง เข้าไปในสวนหลวง แล้วแอบได้พระธิดาทั้งสองเป็นชายา นายแก้วนายขวัญก็ได้กับนางรื่นนางโรยพี่เลี้ยง
         เมื่อพระพิชัยพิษณุกร พระบิดาของพระเพื่อนพระแพงทราบเรื่องก็ทรงกริ้ว แต่พอทรงพิจารณาเห็นว่าพระลอมีศักดิ์เสมอกันก็หายกริ้ว แต่พระเจ้าย่า(ย่าเลี้ยง) ของพระเพื่อนพระแพงโกรธมาก เพราะแค้นที่พระบิดาของพระลอได้ประหารท้าวพิมพิสาครสวามีในที่รบ พระเจ้าย่าถือว่าพระลอเป็นศัตรู จึงสั่งทหารให้ไปล้อมพระลอที่ตำหนักกลางสวน และสั่งประหารด้วยธนู ทั้งพระลอ พระเพื่อน พระแพง และนายแก้ว นายขวัญ นางรื่น นางโรย ร่วมกันต่อสู่ทหารของพระเจ้าย่า อย่างทรหด จนสุดท้ายถูกธนูตายในลักษณะพิงกัน ตายด้วยความรักทั้ง 3 องค์
         ท้าวพิชัยพิษณุกร ทรงทราบว่าพระเจ้าย่าสั่งให้ทหาร ฆ่าพระลอพร้อมพระธิดาทั้งสององค์ ทรงกริ้วและสั่งประหารพระเจ้าย่า(เพราะมิใช่ชนนี)เสีย แล้วโปรดให้จัดการพระศพพระลอกับ พระธิดาร่วมกันอย่างสมเกียรติ และส่งทูตนำสาส์นไปถวายพระนางบุญเหลือ ชนนีของพระลอ ที่เมืองแมนสรวง สุดท้ายเมืองสรองกับเมืองแมนสรวงกลับมีสัมพันธไมตรีกันต่อมา
คติและแนวคิด
          ตำนานรักพระลอเป็นนิยายพื้นบ้านที่ให้รสวรรณคดีทุกรส ได้แก่ ความรัก ความโศก กล้าหาญ และเสียสละ ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงผลเสียของความแค้น ความอาฆาต พยาบาท ตลอดจนอนุภาพแห่งความรัก ที่เป็นอมตะรักของพระลอ พระเพื่อนพระแพง

ตัวนางในวรรณคดี - นางวันทอง

นางวันทอง

นางวันทองเป็นธิดาคนเดียวของพันศรโยธา และนางศรีประจัน ครอบครัวของนางวันทองเป็นตระกูลพ่อค้าที่มีฐานะดีพอสมควร นางจึงได้รับการเลี้ยงดูเป็นอย่างดี
นางวันทองมีรูปร่างหน้าตาสวยงาม อรชนอ้อนแอ้น กิริยามารยาทแช่มช้อย ซึ่งความสวยของนางนั้นปรากฏให้เห็นชัดตั้งแต่ยังเป็นเด็ก และยังมีผมสวย ดังที่กวีพรรณนาไว้ว่า
"ทรวดทรงส่งศรีไม่มีแบน     อรชรอ้อนแอ้นประหนึ่งเหลา
ผมสลวยสวยขำงามเงา     ให้ชื่อเจ้าว่าพิมพิลาไลย"
                    เมื่อนางเติบโตขึ้นก็ยิ่งมีความสวยงามยิ่งขึ้น เป็นเหตุให้ขุนแผนและขุนช้างมีจิตใจผูกพันรักใคร่ ส่งผลให้เกิดเรื่องราววุ่นวายตามมามากมาย
ลักษณะนิสัย
                    เนื่องจากนางวันทองมีโอกาสใกล้ชิดกับนางศรีประจัน นางจึงได้รับลักษณะนิสัยบางอย่างของนางศรีประจันมา เช่น เป็นคนเจ้าคารมโวหาร ใช้ถ้อยคำประชดประชันเสียดสี ปากกล้า โดยเฉพาะเมื่อเกิดอารมณ์โมโห นางจะหลุดถ้อยคำหยาบ ๆ ออกมาได้มากมาย
                    นางวันทองมีลักษณะสาวชาวบ้านจึงเป็นคนซื่อ ไม่ค่อยฉลาดเท่าใดนัก ทำอะไรก็ทำตามประสาหญิงชาวบ้าน เมื่อโตเป็นสาวก็เริ่มคิดเรื่องคู่ครอง อันเป็นเรื่องธรรมดาตามธรรมชาติ แต่สังคมไทยมีความจำกัดให้ผู้หญิงอยู่ในกรอบของประเพณี จึงทำให้ดูเหมือนว่านางวันทองไม่รักนวลสงวนตัว
                    อย่างไรก็ตาม นางวันทองก็ยังมีภาพลักษณ์ด้านดีที่เห็นได้ชัด คือ ความละเอียดอ่อน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการรับรู้ถึงความดีของผู้อื่นที่ปฏิบัติต่อนาง ดังจะเห็นได้จากถึงแม้นางจะไม่ได้รักขุนช้างแต่ด้วยความดีของขุนช้างและความผูกพันที่อยู่กันมา 15 ปี ทำให้นางเป็นห่วงเป็นใยความทุกข์สุข และความรู้สึกของขุนช้างไม่น้อย หรือ อารมณ์ที่ละเอียดอ่อนในการเป็นแม่ศรีเรือนที่ดี เช่น ความประณีตในการปักม่าน นอกจากนี้นางวันทองยังเป็นคนกล้าที่จะยอมรับชะตากรรมของตัวเอง มีน้ำใจเมตตา และให้อภัยโดยไม่เคียดแค้น

ตัวนางในวรรณคดี - นางบุษบา


นางบุษบา




นางบุษบาเป็นธิดาของท้าวดาหาและประไหมสุหรีดาหราวาตี แห่งกรุงดาหา เมื่อตอนประสูติมีเหตุอัศจรรย์คือ มีกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่วทั้งวัง ดนตรี แตรสังข์ก็ดังขึ้นเองโดยไม่มีผู้บรรเลง ประสูติได้ไม่นาน ท้าวกุเรปันก็ขอตุนาหงันให้กับอิเหนา
       บุษบาเป็นหญิงที่งามล้ำเลิศกว่านางใดในแผ่นดินชวากิริยามารยาทเรียบร้อย คารมคมคาย เฉลียวฉลาดทันคนใจกว้างและมีเหตุผล จึงผูกใจให้อิเหนารักใคร่ใหลหลงนางยิ่งกว่าหญิงอื่น 
นอกจากนั้นบุษบายังเป็นลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพระบิดา พระมารดา ยอมแต่งงานกับระตูจรกา แม้ว่าจะไม่พอใจในความขี้ริ้วขี้เหร่ของระตูจรกาก็ตาม
        นางถูกเทวดาบรรพบุรุษ ของวงค์อสัญแดหวาคือ องค์ปะตาระกาหลาบันดาลให้ลมพายุหอบไป ทำให้นางต้องพลัดพรากจากอิเหนา และพระบิดาพระมารดาเป็นเวลาหลายปี กว่าจะได้พบอิเหนาและวิวาห์กัน โดยนางได้ตำแหน่งเป็นประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย
ลักษณะนิสัย
1.บุษบาเป็นหญิงที่มาแบบฉบับของลูกที่ดีอยู่ในโอวาทของพ่อแม่ แม้ว่านางจะไม่พอใจในรูปร่างของจรกา แต่นางก็ยอมที่จะไม่ทำตามใจตนเองเพื่อรักษาชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล
2. เป็นคนไม่เจ้ายศเจ้าอย่างหรือถือว่าตนสูงศักดิ์กว่านางจินตะหรา เห็นได้จากตอนที่จินตะหราได้ให้นางสการะวาตีและนางมาหยารัศมีมาเฝ้า บุษบาก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี
3. เป็นคนไม่เหลาะแหละ รู้จักโต้เถียงแสดงความฉลาดรู้ทันอิเหนาและรักษาเกียรติของตนเองไม่ยอม หลงเชื่ออย่างง่ายๆ ในตอนที่อิเหนาพูดว่า 
 "อันนางจินตะหราวาตี     ใช่พี่จะมุ่งมาดปรารถนา 
 หากเขาก่อก่อนอ่อนมา     ใจพี่พาลาก็งวยงง……"
จากที่อิเหนาพูดนี้ก็ทำให้นางบุษบารู้ว่าอิเหนาเจรจาเข้าข้างตัวเอง นางก็โต้ตอบว่าอย่ามาแกล้งพูดเลยว่าจะไม่เลี้ยงนางจินตะหราวาตี เพราะมีลายลักษณ์อักษรและใครๆก็รู้กันทั่วว่าอิเหนาไม่ต้องการนาง นางจึงโต้ตอบ เมื่ออิเหนาแก้ตัวว่าที่ลักนางมาก็ด้วยความรักว่า
" จะให้เชื่อพจมานหวานถ้อย  จะได้ไปเป็นน้อยชาวหมันหยา
เขาจะเชิดชื่อฤาชา            ว่ารักสามีท่านกว่าความอาย
อันความอัปยศอดสู      จะติดตัวชั่วอยู่ไม่รู้หาย
ร้อนใจอะไรเล่าเจ้าเป็นชาย    ไม่เจ็บอายขายหน้าก็ว่าไป "
และตอนที่ นางบวชเป็นแอหนัง (ชี ) แลัวถูกปันหยีขโมยกริชไป นางก็คร่ำครวญต่อว่าพี่เลี้ยงด้วยความรักเกียรติสตรีว่า 
"พี่แกล้งเป็นใจด้วยปันหยี   เห็นคนอื่นดียิ่งกว่าข้า
ในถ้อยคำที่ร่ำพรรณนา       ว่าแสนเสน่หาอิเหนานัก
เป็นไฉนจึงยกน้องให้         แก่ชาวไพร่ต่ำช้าบรรดาศักดิ์
กระนี้ฤาพี่เรียกว่ารัก       พึ่งจะประจักษ์ในน้ำใจ
สู้ตายชายอื่นมิให้ต้อง      อันจะมีผัวสองอย่าสงสัย
ถึงมาตรแม้นชีวันจะบรรลัย    จะตายในความซื่อสัตยา"
4. เป็นคนที่มีความเป็นตัวของตัวเองแม้ว่านางจะตกอยู่ในสภาพที่ถูกบังคับ โดยนางไม่ยอมทำตามผู้ใหญ่ ดังตอนที่ท้าวดาหามีดำรัสให้ขึ้นมาเข้าเฝ้าอิเหนา นางรู้ว่าจะให้ไปไหว้จึงเข้าไปนอนด้วยความเคืองไม่เข้าเฝ้าตามรับสั่ง จนเดือดร้อนถึงมะเดหวีต้องมาจัดการ แต่นางก็ไม่ออกมาโดยดีๆ ต้องผลักไสกัน
5.มีความซื่อสัตย์ ได้รักษาตัวไว้รอคอยอิเหนา ดังกลอนว่า
"ถึงมาตรสู้ตายชายอื่นมิให้ต้อง   อันจะมีผัวสองอย่าสงสัย
แม้นชีวันจะบรรลัย                      จะตายในความซื่อสัตยา"
6.ไม่มีจริตแง่งอน เมื่ออิเหนาลักพานางไปไว้ในถ้ำ ก็ยินยอมแต่โดยดี
7.เมื่อเป็นชาย คือมิสาอุณากรรณก็ปฏิบัติตนกับระตูประมอตันอย่างบิดาของตน
8.มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เช่น ระตูประมอตัน
9.มีความกล้าหาญจนมีระตูมาขอเป็นเมืองขึ้นหลายเมือง
10.ไม่มีความริษยาถือโกรธผู้ใด มีน้ำใจ เมื่อมารดาให้ไหว้นางจินตะหรา บุษบาก็ยอมตาม ดังที่นางกล่าวกับอิเหนาว่า
"แม้นน้องรักทักท้วงหวงหึง    พระองค์จึงห้ำหั่นเกศา
เป็นถ้อยยำคำมั่นน้องสัญญา     เชิญเสด็จเชษฐารีบคลาไคล"
และนางยอมให้อิเหนายกจินตะหราเป็นประไหมสุหรีฝ่ายขวาแต่โดยดี ด้วยเห็นว่านางจินตะหราเป็นผู้มาก่อน แม้ว่าจินตะหราจะไม่ใช่วงศ์เทวัญฯ ข้อนี้ยากที่จะหาหญิงใดเสมอเหมือน นับว่าบุษบาเป็นหญิงไทยในวรรณคดีที่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติคนหนึ่ง